HDF Board คืออะไร
HDF – High Density Fiberboard แผ่นเส้นใยไม้อัดความหนาแน่นสูง โดยใช้วิธีการเพิ่มชั้นของเนื้อไม้ให้มีความหนาแน่นสูงขึ้น แข็งแรงขึ้น เหมาะกับงานที่ต้องรับแรงมากๆ
HDF – High Density Fiberboard แผ่นเส้นใยไม้อัดความหนาแน่นสูง โดยใช้วิธีการเพิ่มชั้นของเนื้อไม้ให้มีความหนาแน่นสูงขึ้น แข็งแรงขึ้น เหมาะกับงานที่ต้องรับแรงมากๆ
สำหรับ Designer ที่คุ้นเคยกับการใช้ตัวอย่างวัสดุ สิ่งหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกขัดใจเป็นอย่างมากคือ การที่เอาตัวอย่างวัสดุมาใช้ แล้วพบว่ามันไม่สมบูรณ์ เช่น ตัวอย่างผ้าม่าน ที่มีบางชิ้นถูกตัดออกไป และบังเอิญเป็นชิ้นที่เรากำลังอยากดูว่าเข้ากับแบบที่เรากำลังทำอยู่หรือเปล่า ฟังดูแล้วอาจไม่ใช่เรื่องใหญ่ ถ้าเราไม่ได้รีบร้อนอะไร ก็สามารถติดต่อให้เซลนำมาให้ใหม่ก็ได้ แต่อย่างไรก็ตาม เซลก็จะแนะนำเราว่าอย่าตัดจากเล่มตัวอย่าง ให้แจ้งเซลว่าอยากได้รุ่นไหน หรือส่งรูปไปให้เค้าเพื่อนำตัวอย่างมาให้ดู ข้อดี– เมื่อเราขอตัวอย่างไป เซลมักส่งตัวอย่างวัสดุ ที่ขนาดใหญ่กว่า เห็น Pattern ได้มากกว่า ทำให้ตัดสินใจนำไปใช้งานได้ง่ายขึ้น– ตัวอย่างวัสดุที่เราเก็บไว้ มีความสมบูรณ์ พร้อมใช้งานอยู่เสมอ– การใช้ตัวอย่างวัสดุอย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่า ถือเป็นการช่วยลดขยะวิธีหนึ่ง เพราะในแต่ละปี บริษัทออกแบบทิ้งตัวอย่างวัสดุกันเยอะมาก ส่วนหนึ่งเพราะไม่ได้จัดเก็บอย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการนำมาใช้ซ้ำนั่นเอง
HMR Board (High Moisture Resistance board) อธิบายง่ายๆว่า มันคือ แผ่น MDF ที่มีความสามารถในการทนความชื้นมากขึ้น โดยใช้คุณสมบัติของกาวชนิดพิเศษที่ช่วยให้วัสดุลดการขยายตัวเมื่อเจอความชื้นข้อดีเหมาะกับงาน Built-in Furniture เพราะเนื้อไม้มีความแน่นสูง ทนน้ำและความชื้นได้มาก ตัด เจาะ ไส ขึ้นรูปได้สวยงามเรียบร้อย เนื่องจากเนื้อวัสดุไม่ยุ่ยง่าย การใช้งานที่แนะนำ ห้องน้ำ ,ห้องครัว
ไม้ MDF (Medium Density Fiber Board) อธิบายง่ายๆคือ เส้นใยไม้ผสมกาวสังเคราะห์ อัดด้วยความหนาแน่นปานกลาง ด้วยระบบ Dry Process จนละเอียดเป็นเนื้อเดียวกันตลอดทั้งแผ่นข้อดีเหมาะกับงาน Built-in Furniture เนื่องจากขูดแต่งเนื้อไม้ได้เรียบร้อย งานที่ออกมาจึงดูเรียบร้อยไม่เป็นขุย สามารถนำมาพ่นสีในเนื้อไม้ได้สวยงามการใช้งานที่แนะนำ งาน Furniture ทั้ง แบบลอยตัว และแบบ Built-in (ที่ไม่อยู่ในบริเวณที่มีความชื้น)
วันนี้เราได้รับตัวอย่างวัสดุมาใหม่ เป็นกล่องสีขาว จาก TGSG ด้านในเป็นตัวอย่างกระจกชนิดต่างๆ โดยทางเซลบอกว่านี่คือกล่องของรุ่นเบสิค ที่ใช้กันทั่วไป เดี๋ยวจะมีกระจกใหม่ๆมาให้เพิ่มเติมอีก (ก่อนหน้านี้ทาง TGSG เคยนำกระจก U Glass มาให้แล้ว ซึ่งสวยงาม และน่าสนใจมาก เข้าไปดูตัวอย่างกระจก U Glass ได้ที่นี่ >> LAMBERTS-Profiled U Shape Glass ) ตัวอย่างกระจกแต่ละชิ้น จะมี Sticker ติดชื่อรุ่นของกระจก และคุณสมบัติต่างๆ เอาไว้ ให้มาพร้อมตารางคุณสมบัติที่หลังฝากล่อง (สามารถดูได้จากหน้า TGSG-Glass Innovation – Basic 1)
IP(Ingress Protection)IP คือค่ามาตรฐานการป้องกันทางกล (mechanical protection) เพื่อป้อง กันฝุ่นหรือของแข็งและน้ําที่จะผ่านเข้าสู่อุปกรณ์ต่างๆ และมีผลให้เกิดความเสียหาย แก่อุปกรณ์นั้นๆ การทดสอบอุปกรณ์และค่า IP เป็นไปตามมาตรฐาน DIN/EN60529 โดยแบ่งระดับการป้องกันเป็นตัวเลขสองหน่วย หน่วยแรกจาก 1-6 แสดงถึงค่าการ ป้องกันฝุ่นและของแข็ง (ingress of dust and solid foreign bodies) หน่วยที่สอง จาก 1-8 แสดงถึงค่าการป้องกันของเหลว (ingress of liquid) FIRST CODE : ค่าการป้องกันฝุ่นและของแข็ง0 = ไม่มีการป้องกัน1 = ป้องกันของแข็งที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า 50 มิลลิเมตร2 = ป้องกันการสัมผัสด้วยนิ้วหรือของแข็งที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า 12 มิลลิเมตร3 = ป้องกันของแข็งที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า 2.5 มิลลิเมตร4 = ป้องกันของแข็งที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า 1 มิลลิเมตร5 = … Read more
หนึ่งในปัญหาของสถาปนิกที่เจอกันบ่อยๆก็คือ การเลือกใช้ตัวอย่างวัสดุ เนื่องจากห้องวัสดุจะมีการเก็บตัวอย่างไว้จำนวนมาก เวลาต้องการนำมาใช้งาน บางทีเราก็ไม่รู้ว่าตัวอย่างนั้นเป็นของ Supplier รายไหน เพราะไม่ได้ติดป้ายไว้ หรือป้ายสติกเกอร์หลุดออกไปแล้ว วันนี้มีน้องสถาปนิกส่งตัวอย่าง Aluminium Section มาให้เราจัดเก็บเข้าระบบ แต่ไม่มีป้ายสติ๊กเกอร์หรือนามบัตรติดไว้เลย แล้วจะจัดเก็บเข้าระบบไปทำไม ถ้าไม่รู้ว่าเป็นของ Supplier เจ้าไหน ?? แต่เดี๋ยวก่อน พอดูให้ดีๆ LIXIL นั่นเอง ลงทุนทำ Aluminium Profile เป็นชื่อ Brand สุดยอดจริงๆ ถือเป็นนวัตกรรมของตัวอย่างวัสดุได้เลยทีเดียว ทีนี้เราก็นำมาเข้าระบบ และติด QR Code ลงไป คราวหน้าหยิบมาใช้ พอ Scan QR Code แล้ว ก็จะได้รู้ว่า เป็นของ Brand ไหน และต้องติดต่อเซลคนไหนนั่นเอง เท่านี้ ชีวิตสถาปนิกอย่างเราก็ง่ายขึ้นเยอะ